ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดรวม ในการรักษาภาวะซึมเศร้า PMS&PMDD ก่อนมีประจำเดือน
2022-05-26 15:52:05 จำนวนผู้เข้าชม
โดย ".นางสาว ทวิดา กันธิมา
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดรวม
ในการรักษาภาวะซึมเศร้า PMS&PMDD
ก่อนมีประจำเดือน
ผู้หญิงหลายคนเวลาก่อนมีประจำเดือน มักจะมีกลุ่มอาการผิดปกติก่อนประจำเดือนจะมา ไม่ว่าทางกายหรือทางใจ เช่น ท้องอืด นมคัด ปวดศีรษะ บวม ปวดเมื่อย เครียด กระสับกระส่าย โมโห ฉุนเฉียว แต่เมื่อทำวิจัย กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน PMS (Premenstrual Syndrome) ที่มีอาการชัดเจนจนต้องรักษา มีเพียงร้อยละ 3-8 โดยร้อยละ 2 ของผู้หญิงเป็น PMS ขั้นรุนแรง หรือเรียกว่ากลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) เช่น หงุดหงิด เครียดอย่างรุนแรง ควบคุมอารมณ์ตนไม่ได้ มีการระเบิดอารมณ์ จนเกิดผลกระทบกับชีวิตประจำวันของผู้เกิดอาการและผู้คนรอบข้างเป็นอย่างมาก
งานวิจัยที่ได้เลือกมาทำ Journal club ก็คือ Efficacy of combined oral contraceptives for depressive symptoms and overall symptomatology in premenstrual syndrome: pairwise and network meta-analysis of randomized trials
หรือการศึกษาประสิทธิภาพยาคุมกำเนิดแบบผสมเพื่อใช้ในการทรีทอาการซึมเศร้าและอาการโดยรวยอื่นๆใน premenstrual syndrome โดยเปเปอร์นี้จะเป็น pairwise and network meta-analysis แบบ randomized trials
เปเปอร์นี้ได้เขียนอธิบาย Inclusion เกณฑ์การคัดเลือก โดยแยกหัวข้อเป็น PICOTS ได้ดังนี้
1.Population ประชากรที่ทำการทดลอง ก็จะเป็นผู้หญิงที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็น PMS หรือ PMDD
2.Intervention : combined oral contraceptive
3.Comparison : โดสอื่นๆของ combined oral contraceptive รวมไปถึง placebo
4.Outcome : อาการซึมเศร้าที่เปลี่ยนแปลงไป
Study design ที่นำเข้ามาจะเป็นแบบ randomized trials ทั้งหมด
Study selection เกณฑ์การคัดเลือก paper
จากการศึกษาทั้งหมด 3644 เปเปอร์ ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1961 ถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2021 สุดท้ายคัดเลือกเหลือ 9 เปเปอร์ 8 เรื่องเป็น placebo controlled 1 เรื่องเป็น head to head
Study characteristics
จาก 9 การศึกษา จากผู้หญิงทั้งหมด 1205 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 32.5 ปี ทุกการศึกษาจะประเมินอาการ PMS 1 สัปดาห์ก่อนประจำเดือนจะมา
ติดตามอาการที่ 3 เดือน การศึกษาส่วนใหญ่จะนับรวมผู้หญิงที่เป็น PMDD มี 4 การศึกษาที่จะเน้นไปที่ผู้หญิงที่เป็น PMS
สำหรับ Premenstrual depressive symptoms
จากการศึกษาเทียบกับ placebo 8 การศึกษา the pairwise meta analysis ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ยาคุมกำเนิดแบบรวม ยังไม่มีประสิทธิภาพสำหรับ PMDD เมื่อเทียบกับ placebo
ส่วนการเทียบ regimen combined oral contraceptive ด้วยกัน ผลลัพธ์ที่พบคือ ไม่มี regimen ไหน มีประสิทธิภาพ เหนือ regimen ใดๆ หรือ placebo
Overall premenstrual symptomatology
จากการศึกษา 6 การศึกษาเทียบกับ placebo ยาคุมกำเนิดแบบรวม มีประสิทธิภาพในการลดอาการโดยรวมของ PMS
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบประสิทธิด้วยกันเอง แต่แค่ regimen ต่างกัน ก็ไม่ต่างกัน
Main findings
ผลลัพธ์ของ pairwise และ network meta-analysis แนะนำว่า การใช้ยาคุมกำเนิดแบบรวม สามารถทำให้อาการโดยรวม ดีขึ้นกว่า เมื่อเทียบกับ placebo ทั้งในผู้หญิงที่มีอาการเป็น PMS และ PMDD แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ก็ยังไม่พบเอกสารสนับสนุนในเรื่องของประสิทธิภาพในการรักษา premenstrual depressive symptoms และถ้าเปรียบเทียบในยาคุมกำเนิดด้วยกัน ก็ไม่มีตัวไหนที่ประสิทธิภาพเหนือกว่ากัน
Implication for current clinical practice and future research
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การใช้ยาคุมกำเนิดแบบรวมก็แสดงให้เห็นว่าเหมาะสมว่าเป็นอีกทางเลือกนึงสำหรับคนที่สนใจจะให้อาการโดยรวมของ ภาวะ premenstrual symptomatology ในผู้หญิงที่เป็น PMS และ PMDD ที่กำลังจะหายาคุมกำเนิดรับประทาน
ในผู้หญิงที่มีอาการเด่นไปในด้านซึมเศร้า ทางเลือกที่ควรใช้ในการรักษา แนะนำเป็นการใช้ยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors ไม่ก็การทำ CBT จะมีประสิทธิภาพมากกว่า
อ่านเปเปอร์ฉบับเต็มต่อได้ที่ : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34224688/